วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550

week7

ARRAY

การประกาศ array
จะมี3 ส่วนคือ
1.int x[];
เป็นการประกาศตัวแปรที่เป็นจำนวนเต็ม
2.ตัวแปร = new
ชนิดของข้อมูล [n];
3.ตัวแปร [n] = ค่าของเลข;โดยที่ค่าของตัวแปรจะเริ่มจาก 0

ส่วน array 2มิตินั้น
ตัวแปร = new ชนิดของข้อมูล [n][m]; เป็นการกำหนดความกว้างของ Arrayตัวแปร [n][m] = ค่าของเลข; เป็นการใส่ค่าให้ตัวแปร
Loopคือการทำงานคำสั่งซ้ำๆของข้อมูลสูตรที่ไปของมันคือ
for( i = n; i < m; i ++){คำสั่งที่อยากให้ทำ;}
n = จุดเริ่มต้นของข้อมูล
m = จุดสุดท้ายของข้อมูลi
++ คือการเพิ่มลำดับข้อมูลทีละ
1i -- คือการลดลำดับข้อมูลทีละ 1

ตัวอย่างcode arrayhttp://www.uploadtoday.com/download/?3d5082079c816b4469c203e11e613c8c

week6

Java switch

นอกจากif else แล้วยัง มีอีกคำสั่งนึงที่เหมาะกับตัวเลขมากๆซึ่งหากใช้if elseจะทำให้codeยาวจนเกินไป
เราจึงใช้ switch caseซึ่งเหมาะสะดวกและใช้ง่ายกว่าทำงานได้หลากหลายกว่า
switch(x/10){
case 0:;
case 1:;
case 2:;
case 3:;
case 4:System.out.println("You're failed!!");break;
case 5:System.out.println("You're grade is D.");break;
case 6:System.out.println("You're grade is C.");break;
case 7:System.out.println("You're grade is B.");break;
case 8:;
case 9:;
case 10:System.out.println("You're grade is A. Nice grade!!");break;}

ในกรณีนี้เป็นการใส่คะแนนเพื่อหาเกรด โดยถ้าคะแนนอยู่ในระดับ 80-100 จะได้เกรด A
ถ้าคะแนนอยู่ในระดับ 70-79 จะได้เกรด B
ถ้าคะแนนอยู่ในระดับ 69-60 จะได้เกรด C
ถ้าคะแนนอยู่ในระดับ 59-50 จะได้เกรด D
และน้อยกว่านั้นคือตก
จะสังเกตว่าต้องใส่breakทุกครั้งเพื่อจบคำสั่งcaseนั้นหากไม่ใส่มันจะrunคำสั่งอื่นปนด้วยเช่น
ได้92 คะแนน จะrun B C D ซึ่งเป็นเกรดที่ไม่ตรงตามเป็นจริง

code http://www.uploadtoday.com/download/?3d3a21508e257048d7b6fd8c92a25d0b

week4

Import java .util.*;

เป็นcodeอ้างอิง ที่อยู่ของfunction scanner

Scanner v = new Scanner(System.in);

เป็น code ประกาศตัวแปรซึ่งรับข้อมูลจากคีบอด เราสามารถกำหนดตัวแปรเองได้เช่น ในcodeนี้คือ v
float v;

เป็นcodeนี้เพื่อเปลี่ยนตัวแปรเป็นเลขทศนิยม เราสามารถนำตัวแปรไปใช้ในสมการต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ใส่ตัวเลขเองได้

v = x.nextFloat();

เป็นcode บอกเปิดรับข้อมูลจากkeyboardเมื่อrunโปรแกรมแล้ว *ข้อมูลที่runต่อได้ไม่errorต้องเป็นทศนิยมเท่านั้น*
code ที่นี่ http://www.uploadtoday.com/download/?3d1ea1e9a5b40a88097460084ff54c0f

week5

ประโยคเงื่อนไข
เครื่องหมายในภาษา Javaเครื่องหมายที่ใช้กับประโยคเงื่อนไขใน Java ทั้งหมด
ซึ่งเราจะใช้เป็นcode เครื่องหมาย

< น้อยกว่า
> มากกว่า
== เท่ากับ
<= น้อยกว่าหรือเท่ากับ
>= มากกว่าหรือเท่ากับ
!= ไม่เท่ากับ

if (a)
System.out.print("true");
คำสั่งนี้ifตามด้วยตัวแปรถ้าaเป็นจริง จะรันว่า "true"

else
เป็นคำสั่งที่รันรองลงมาต่อจาก if หากifไม่เป็นจริงelseจะrunแทนเช่น
if (a) {
System.out.println("cool");
else
System.out.println("Error ");

คำสั่งจะrun ว่า "error"

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

week3

ผมได้เรียนรู้ว่าการเขียนจาวานั้นต้องมีความรอบคอบเพียงใดผิดแค่ตัวอักษรหรือเล็กๆน้อยก็สามารถทำให้คุณไม่สามารถrun คำสั่งได้เลยหรือแม้แต่หากคุณไม่ลองทำ คุณคงไม่รู้และเข้าใจได้ง่ายๆเลย(อัจฉริยะ)ละคงจะไม่พลาดเลยดังนั้นผมได้เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดไม่ว่าคำสั่งใดๆ ก็ต้องตรวจทานและจัดให้ถูกต้องตามกฎและหลักที่ตั้งไว้ในweek ที่เรียนนี้ได้รู้ว่าข้อมูล มีการตั้งเป็นลำดับดังนี้Byte, Short, Integer, Long
ผมได้ลองใช้คำสั่ง

1/2 = 0

อันที่จริง ควรจะได้ 0.5 แต่ข้อมูล 2 ชนิดมีขนาดที่แตกต่างกันทำอะไรกัน
โปรแกรมจะแปลขนาดข้อมูลที่เล็กกว่าไปสู่ขนาดที่ใหญ่กว่าเสมอ

ดังนั้นเราจึง

1.0/2 = 0.5

ทำให้ข้อมูลกว้างขึ้นถึงแม้เราจะหลอกตัวเราเองได้แต่ก็หลอกคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะจะเป็นไปตามหลัก
ของมันเสมอ
Ex.

public class sumscore{ public static void main(String[]args){
System.out.println(args[0]);
System.out.println("Score 1" + args[1]);
System.out.println("Score 2" + args[2]);
System.out.println(Integer.parseInt(args[1])+Integer.parseInt(args[2]));
}
}

Integer.parseInt(args[n])= เป็นคำสั่งที่ให้ตัวแปลเป็นจำนวนเต็ม
(Integer.parseInt(args[n]) + Integer.parseInt(args[n])) เป็นคำสั่งให้จำนวนเต็มที่เป็นตัวแปรบวกกัน
*เราไม่สามารถ run ได้ด้วยโปรแกรม jcreator LEต้องใช้โปรแกรม Command Prompt ในการ run*
เราสามารถ run ตัวแปลนั้นๆ โดยต้องเว้นวรรค เพื่อแบ่งตัวแปรเช่น
java sumscore 10 11 12
*เราสามารถ compile ใน je ได้ครับ
หากผิดพลาดประการใดโปรด บอกด้วยครับ ขอบคุณครับ
My work

http://www.uploadtoday.com/download/?731b6e450800e7fbf1b75e94d4a75421


วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สรุปการเขียนภาษาจาวา1

java
มารู้จักjavaกันก่อนนะครับ Java เป็นภาษาสำหรับสร้างโปรแกรมที่ใช้งานบน Internet โดยโปรแกรมที่สร้างขึ้นด้วย Java จะผ่านการคอมไพล์จากเครื่องหนึ่ง และนำไป run บนระบบใด ๆ เช่น Windows, Mac หรือ Unix ในเครื่องอื่น ๆ ก็ได้
การสร้างโปรแกรมภาษา Java นั้นจะต้องมี คอมไพเลอร์ และ interpreter ของภาษา ซึ่งก็มีชุดโปรแกรมสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมภาษา Java หลายโปรแกรม เช่น Java Developer Kit (JDK)สามารถ download ได้จากhttp://sunsite.au.ac.th/JavaCorner/software.html
อันดับแรกต้องติดตั้ง JDK ก่อน ซึ่งมีให้เลือกหลาย version ขณะที่จัดทำอยู่นี้ JDK อยู่ใน version 1.2.2 เป็น version ล่าสุด เมื่อติดตั้ง JDK เรียบร้อย คอมไพเลอร์ (javac.exe) และ interpreter (java.exe) จะถูกเรียกใช้จากไดเรกทอรี c:\jdk1.2.2\bin เท่านั้น โดยปกติ จะไม่ทำงานในไดเรกทอรีที่เก็บคอมไพเลอร์ ดังนั้นเพื่อให้สามารถเรียกใช้ javac.exe และ java.exe ได้ จึงควรตั้งค่า directory path ไปที่ c:\jdk1.2.2\bin โดยเพิ่มประโยคข้างล่างนี้ลงในไฟล์ autoexec.bat ก็เป็นอันเรียบร้อยในการลงโปรแกรม Java
SET PATH=C:\JDK1.2.2\BIN
การเขียนโปรแกรมภาษาจาวาJava Application ซึ่งจะถูกทำงานโดย java.exe

สร้างโดยใช้ editor (เช่น notepad) แล้วเก็บไว้ในไฟล์ที่มี extension เป็น .java เช่น test.java แล้วใช้คอมไพล์เลอร์ javac.exe คอมไพล์ไฟล์ test.java จะได้เป็นไฟล์ test.class ซึ่งเป็นผลลัพธ์ ถ้าต้องการให้ test.class ทำงานก็ต้องใช้ java.exe
Notepad ---->test.java---->javac.exe---->testclass----java.exe
ต่อมาเป็นการเรียกใช้javaใน Command Prompt
เริ่มต้นด้วยการใช้คำสั่ง md (ตามด้วยชื่อ) หมายเหตุ (md = make document)เช่น md dex จะได้ไฟล์ dex
cd (ตามด้วยfloderที่ต้องการเข้า) หมายเหตุ( cd = change document)เช่น cd dex จะเข้าสู่floder dex*การพิมพ์ cd .. เป็นจารออกจาก Drive ที่อยู่ในปัญจุบัน 1 หน้า
dir เป็นการตรวจสอบว่าภายในfloderเรามีอะไรบ้าง
*ตัวอย่างการเขียนจาวา
เมื่อมีการรันโปรแกรมด้วย Java Interpreter นั้น เราจะต้องใส่ชื่อ class ที่เราต้องการรันก่อน หลังจากนั้น ตัวInterpreter จะเรียก เมธอด main ที่อยู่ใน class นั้นๆ ซึ่ง เมธอด main จะควบคุมการทำงานทั้งหมดของโปรแกรม รวมถึงการเรียกใช้งาน เมธอดอื่นด้วย
รูปแบบของ เมธอด main

public static void main(String[] args)

เมธอด main ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ


public
เป็นตัวบอกว่า เมธอดสามารถใช้งานโดยออบเจกต์อื่นได้หรือไม่
static
เป็นตัวบอกว่า เมธอด นี้เป็น class method
void
aเป็นตัวบอกว่า เมธอด นี้ไม่มีการคืนค่าข้อมูลกลับมา

* ยกตัวอย่างการเขียนข้อความโดยใช้จาวา โดยใช้notepad
public class *ชื่อไฟล์ {
public static void main (String [] args) {
system.out.println("*ข้อความ")
}
}


* สุดท้ายต้องเปลี่ยนจากโปรแกรม .txt เป็น All และเซฟด้วย .java เพื่อแปลงให้เป็นโปรแกรมจาว่า*

ในการ run โปรแกรมจาว่า ผ่าน Command Prompt นั้น จะแบ่งเป็น 2 ขึ้นตอนหลักๆ คือ
1. ยืนยันโปรแกรมที่จะ run ของจาว่า
2. run โปรแกรม
โดย การยืนยันนั้น เราจ้องมีโปรแกรม javac ซึ่งสามารถโหลดฟรีได้ตามเว็บอินเตอร์เน็ต

การรัน จาว่า ผ่านCommand Promt
1.ยืนยันด้วยjavac*ตามด้วยไฟล์จาว่า (อย่าลืมเลือกfloderให้ตรงกับที่เซฟไฟล์ไว้)
2.รันชื่อไฟล์ java
jcreator
เป็นโปรแกรมในการเขียนจาว่า ซึ่งจะทำงานง่ายหากมีความเข้าใจมาก่อนและ ทำเช่นเดียวกับnotepad
downloadhttp://www.jcreator.com/download.htm

หมายเหตุ *นี่เป็นบทสรุปจากการเรียนผมครับ ถ้ามีการผิดพลาดอะไรขออภัยและโปรดcommentมาด้วยครับขอบคุณ*

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เพลงสบายๆ

วันๆหนึ่งอาจจะมีอะไรมากมายที่ต้องทำและทุกคนก็ต้องการที่จะพักผ่อนคนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะฟังเพลงสบายๆ หรือ ฟังเพลงทำให้รู้สึกตื่นตัวในการมีกิจกรรมมีเพลงมากมายบนโลกที่เรารู้จัก แต่เรายังไม่เคยฟัง ถ้าเราได้เลือกที่จะลองอะไรใหม่ๆ หรือฟังจากdj ตามคลื่นวิทยุหรือทางทีวี "ผมคิดว่าการฟังเพลงเป็นการพักผ่อนที่ดีอย่างหนึ่งเลยทีเดียว" มีหลายคนที่เคยได้ยินว่า ดนตรีตามอารมณ์ หรือเป็นการควบคุมอารมณ์นั่นเองถ้าเราหาเพลงสบายๆ เราก็จะรู้สึกดีไปกับมัน